Airfoil สร้างแรงยกได้อย่างไร สำหรับการอธิบายการสร้างแรงยกของ AIrfoil หรือแพนอากาศนั้น จำเป็นต้องหยิบยกทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา โดยเป็นทฤษฎีที่มีการกล่าวถึงมากในตำราอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) นั่นคือ ทฤษฎีของ Kutta-Joukowski ชื่อของทฤษฎีนี้ก็มาจากชื่อของสองบุคคลที่คิดค้นพัฒนาทฤษฎนี้ขึ้นมา โดยหากจะอธิบายให้ง่ายแล้วจะมีการอธิบายประมาณว่าอากาศที่อยู่ในชั้นชิดผิวของ Airfoil จะมีการหมุนวน (vorticity) เกิดขึ้น ทำให้เกิดการไหลเวียนกระแสอากาศ (circulation) รอบ airfoil ในรูปแบบต่างๆ จนทำให้เกิดแรงยกขึ้น หากมีอากาศไหลผ่านเฉยๆแต่ไม่มี circulation จะไม่เกิดแรงยก (Airfoil ทำให้เกิด Circulation แล้ว Circulation ทำให้เกิด Lift) Martin Kutta (Wikipedia) Nikolay Yegorovich Zhukovsky (Wikipedia) ตัวอย่าง CIrculation ที่เกิดขึ้นบน Airfoil การทำความเข้าใจในทฤษฎีนี้มากขึ้นอาจต้องมีการศึกษาลึกลงไปถึงรูปแบบสมการต่างๆมากมาย และจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจคณิตศาสตร์อย่างแคลคูลัสในขั้นสูง แต่ก็ใช่ว่าทฤษฎีดังกล่าวจะมีความสมบูรณ์แบบ100% มีบางเงื่อนไขที่ทฤษฎีมีความไม่สมจริงกับสิ่งที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการศึกษาพัฒนาทฤษฎีการสร้างแรงยกกันต่อไปเรื่อย ๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมกันต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมFundamental of Aerodynamics book – John D. Anderson You Might Also Like ทำไมอากาศด้านบนปีกเครื่องบินถึงไหลเร็วกว่าด้านล่าง? กรกฎาคม 24, 2020 การประมาณแรงยกของเครื่องบิน (Lift Estimation) พฤศจิกายน 21, 2020 Taper ratio กับเครื่องบิน มีนาคม 29, 2021 ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบCommentEnter your name or username to comment Enter your email address to comment Enter your website URL (optional) บันทึกชื่อ, อีเมล และชื่อเว็บไซต์ของฉันบนเบราว์เซอร์นี้ สำหรับการแสดงความเห็นครั้งถัดไป Δ